4 แกรมม่า IELTS คว้า Band 7.0
2021 views | 30/11/2022
Copy link to clipboard
Nong Tanakorn
Content Creator

ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องสอบ IELTS ให้ได้ Band 7.0 ต้องรู้แกรมม่าเรื่องใดบ้าง? 4 แกรมม่าที่ควรรู้เพื่อการสอบ IELTS ให้ได้ Band 7.0 มีดังนี้



Reduced Relative Clauses

Reduced Relative Clause คือ การลดรูปของ Relative Clause โดยการตัด Relative Pronoun ออกจากประโยค หรือการตัด Relative Pronoun และเปลี่ยน Verb เป็น Present Participle (V.ing) หรือ Past Participle (V.3)


หลักการลดรูปมี 2 วิธี คือ

1. การละ Relative Pronoun (who, whom, which, that) ในกรณีที่คำนามที่ถูกขยายทำหน้าที่เป็นกรรม (Object) ในประโยค โดยการละ Relative Pronoun ทำได้เฉพาะใน Defining Relative Clause (เฉพาะเจาะจง) เท่านั้น


Examples:

Relative Clause:         This is one of the books that he gave me.

Reduced Relative Clause:   This is one of the books he gave me.

*ตัด that ออกได้ เพราะ one of the books เป็นกรรมที่เขาให้


2. การละ Relative Pronoun โดยใช้ Participle แบ่งเป็น 2 กรณี คือ

   2.1. กรณี Active Voice ประธาน (Subject) เป็นผู้กระทำกริยานั้น ให้ตัด Relative Pronoun ออก แล้วเปลี่ยน Verb ให้เป็น V.ing (Present Participle)


Examples:

Relative Clause:        The man who sits next to Lisa is my brother.

Reduced Relative Clause: The man sitting next to Lisa is my brother.

* The man คือประธานที่ทำกริยานั่ง จึงตัด who ออก และเปลี่ยน sits เป็น sitting

  

  2.2. กรณี Passive Voice ประธาน (Subject) เป็นผู้ถูกกระทำ ให้ตัด Relative Pronoun และ Verb to be ออก เหลือไว้เพียง V.3 (Past Participle)


Examples:

Relative Clause:        Most people who were invited to the party didn’t turn up.

Reduced Relative Clause: Most people invited to the party didn’t turn up.

* Most people เป็นประธานที่ถูกกระทำ จึงตัด who were ออก เหลือไว้แค่ invited


High-level Subordinate clauses: despite / whereas

Subordinate clause หรือ Dependent Clause คือ อนุประโยค เป็นประโยคที่ไม่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง มักใช้ประกอบ Main clause เพื่อขยายหรืออธิบายให้มีความสมบูรณ์ โดย Subordinate clause มักขึ้นต้นด้วย Subordinating Conjunction เช่น because, if, when, unless, until, while, despite, whereas, as soon as 


despite เป็นคำเชื่อมที่ใช้ในประโยคแสดงความขัดแย้ง แปลว่า “แม้ว่า, ทั้ง ๆ ที่” มักตามด้วยคำนาม, คำสรรพนาม, Gerund (V.ing)

ex. Despite her beauty, Jane has no boyfriend.

   (แม้ว่าหล่อนจะสวย แต่เจนก็ไม่มีแฟน)


ex. The children had a great time despite the terrible weather.

   (เด็กๆ มีช่วงเวลาที่ดี แม้ว่าสภาพอากาศจะเลวร้าย) 


whereas เป็นคำเชื่อมแสดงความขัดแย้ง แปลว่า แต่ทว่า, ในขณะที่, ในทางตรงกันข้าม จะตามด้วยประโยค

ex. My father is quite talkative, whereas my mother is rather quiet.

   (พ่อของฉันค่อนข้างพูดมาก ในขณะที่แม่ของฉันค่อนข้างเงียบ)


ex. Whereas she was weak as a baby, she is now very strong.

   (แม้ตอนเด็กเธอจะอ่อนแอแต่ทว่าตอนนี้เธอแข็งแรงมาก)


Third Conditional

Conditional Sentences (if-Clause) คือ ประโยคแสดงเงื่อนไข ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ If clause ประโยคเงื่อนไข ขึ้นต้นด้วย If (เป็นเงื่อนไข) และ Main clause ประโยคหลัก (เป็นผลที่ตามมา) Conditional มี 4 รูปแบบคือ First Condition, Second Condition, Third Condition และ Mixed conditionals ซึ่งจะคว้า Band 7.0 จำเป็นต้องรู้และเข้าใจ Third Conditional


Third Conditional (Type 3) ใช้ในเหตุการณ์ที่ไม่เป็นความจริงหรือเหตุการณ์ที่อาจเป็นไปได้ในอดีตแต่ไม่เกิดขึ้น

โครงสร้าง If S + had + V.3, S + would have + V.3

หรือ     S + would have + V.3 + if S + had + V.3


ex. If I had worked harder, I would have passed the exam.

   (ถ้าฉันอ่านหนังสืออย่างหนัก ฉันคงสอบผ่าน)


ex. I would have said hello if I had seen you.

   (ฉันคงจะทักเธอไปแล้ว ถ้าฉันเห็นเธอ)


Basic verb patterns: clauses as subjects / objects

Verb Pattern คือ Verb สองตัวเรียงกันในประโยค โดย Verb ตัวแรกคือ Verb แท้ และ Verb ตัวที่สองที่ตามมาคือ Verb ไม่แท้ อาจเป็น to Infinitive, Gerund (v.ing), that clause เป็นต้น โดยรูปแบบโครงสร้าง verb patterns มีดังนี้


Type 1 : Verb + to Infinitive

ex. He wants to learn Korean.

   (เขาต้องการเรียนภาษาเกาหลี)

wants = Verb แท้ (ผันตาม tense และประธาน)

to learn = to Infinitive  


Type 2 : Verb + Gerund (v.ing) 

ex. Nuna avoided talking to her boss.

   (นูน่าหลีกเลี่ยงการคุยกับหัวหน้าของเธอ)

avoided = Verb แท้ (ผันตาม tense และประธาน)

talking = Gerund (v.ing)


Type 3 : Verb + Gerund (v.ing) หรือ Verb + to infinitive แล้วความหมายไม่เปลี่ยนไป

กรณีนี้ไม่ว่าจะใช้ Verb + Gerund (v.ing) หรือ Verb + to infinitive ความหมายจะไม่เปลี่ยน

ex. He likes swimming. [Verb + Gerund (v.ing)]

ex. He likes to swim. [Verb + to infinitive]

ทั้งสองโครงสร้างนี้มีความหมายเหมือนกันคือ เขาชอบการว่ายน้ำ 


Type 4 : Verb + Gerund (v.ing) หรือ Verb + to infinitive ความหมายเปลี่ยนไป

กริยาแท้บางคำเมื่อตามด้วย Gerund (v.ing) หรือ to Infinitive แล้วจะทำให้ความหมายของประโยคแตกต่างกัน

ex. I forgot doing dishes.

   (ฉันลืมว่าล้างจานไปแล้ว)   

Gerund : forget doing something หมายถึง ลืมว่าได้ทำบางอย่างไปแล้ว


ex. I forgot to do dishes.

   (ฉันลืมล้างจาน)    

Infinitive : forget to do something หมายถึง ลืมว่าจะทำอะไร


Verb แท้ที่ตามหลังด้วย Gerund หรือ to Infinitive แล้วความหมายแตกต่างกัน มีดังนี้

forget (ลืม)           remember (จำ)

regret (เสียใจ)         try (ลอง/พยายาม)

stop (หยุด)           mean (ตั้งใจ)

used to (เคยชิน/เคย)    go on (ทำต่อไป)


Type 5 : Verb + Indirect object + Direct object

กรณีนี้เป็นรูปประโยคที่มี verb แท้ ตามด้วยกรรมรองและกรรมตรง

ex. My mother bought me a new toy.  

   (แม่ของฉันซื้อของเล่นใหม่ให้ฉัน)

new toy เป็นกรรมตรง เพราะถูกซื้อโดยตรง และ me เป็นกรรมรองที่ได้ผลประโยชน์จากการซื้อ


Type 6 : Verb + Object + to Infinitive 

เป็นอีกหนึ่งรูปแบบพื้นฐานที่พบบ่อย โดย Object มักเป็นคำนามหรือสรรพนาม

ex. The doctor told me to give up smoking.

   (หมอบอกให้ฉันเลิกบุหรี่)


Type 7 : Verb + Object + Infinitive without ‘to’ (verb base form) 

รูปแบบนี้จะใช้กับคำกริยาไม่กี่ตัว เช่น watch, see, feel, hear, help, let, make, see

ex. I watched them bake the bread.

   (ฉันดูพวกเขาอบขนมปัง)


Type 8 : Verb + Object + Gerund (v.ing)

ปกติรูปแบบนี้จะพบได้น้อยกว่า Verb + Object + Infinitive

ex. I heard him singing in the bathroom.

   (ฉันได้ยินเขาร้องเพลงในห้องน้ำ)


Type 9 : Verb + Object + ‘that’ clause

รูปแบบนี้จะใช้อนุประโยคที่ขึ้นต้นด้วย that ซึ่ง That-clause คือ อนุประโยคชนิดหนึ่ง สามารถทำหน้าที่เป็น ประธาน กรรมของประโยค และส่วนเติมเต็มของคำนามหรือ Noun/Subject complement ได้ โดย that ในที่นี้จะไม่มีความหมายใดๆ เป็นแค่คำที่ทำหน้าที่ทางไวยกรณ์เท่านั้น

ex. He told me that he was coming.

   (เขาบอกฉันว่าเขากำลังมา)


Type 10 : Verb + Object + ‘wh-‘ clause

รูปแบบนี้ใช้อนุประโยคที่ขึ้นต้นด้วย wh- เช่น why, when, where

ex. She reminded me where I had to leave the papers.

   (เธอเตือนฉันว่าต้องทิ้งเอกสารที่ไหน)


Type 11 : Verb + Object + Past Participle (v.3) 

รูปแบบนี้ใช้บ่อยเมื่อต้องการบอกว่า someone does something for someone else.

ex. She had her car washed.

   (เธอล้างรถของเธอ)



คอร์สแนะนำ 

✔คอร์ส IELTS Reading by Paddington เพิ่มคะแนน Reading เตรียมตัวไปเรียนต่างประเทศ

สมัครเรียนเลย 👉https://vcourse.ai/courses/228


✔คอร์ส IELTS Vocabulary by Paddington รวมคำศัพท์ที่ออกสอบบ่อย 

สมัครเรียนเลย👉https://vcourse.ai/courses/229


✔คอร์ส IELTS Writing by Paddington ปูพื้นฐานและให้เทคนิคการเขียน

สมัครเรียนเลย👉https://vcourse.ai/courses/240