3 Steps เปลี่ยนงานนำเสนอธรรมดาให้เป็น Infographic
826 views | 06/10/2022
Copy link to clipboard
Apple W.
Content Creator

ไหนใครเคยถอดใจไม่ทำสไลด์ Infographic เพราะเข้าใจว่าการทำอินโฟกราฟิกต้องใช้โปรแกรมยาก ๆ ไหมคะ ? แต่เดี๋ยวก่อน… ปัจจุบันนี้การออกแบบอินโฟกราฟิกก็ทำได้ใน PowerPoint แล้วนะ แถมยังทำง่ายมาก ๆ เพียงแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้นเอง เราก็จะได้งานออกแบบสไลด์อินโฟกราฟิกสวย ๆ แล้ว ไปดูกันว่าเราจะเปลี่ยนงานนำเสนอธรรมดาให้เป็นอินโฟกราฟิกเพื่อสื่อสารกับลูกค้า เจ้านาย คุณครู หรือเพื่อนร่วมงานครั้งต่อไปได้อย่างไรบ้าง 



STEP 1 : เปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นอินโฟกราฟิก  


BEFORE

Cr. visme.co 


อินโฟกราฟิก (Infographic) คือ การนำข้อมูลดิบที่เข้าใจยากหรือข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือจำนวนมากมาย่อยให้เหลือเพียงแค่ข้อมูลที่น่าสนใจให้สามารถเล่าเรื่องได้ด้วยตัวเอง ถ้าเรามีจุดประสงค์ที่ชัดเจนว่า เราไม่จำเป็นต้องนำเสนองานด้วยการพูดถึงข้อมูลทุกอย่าง เพื่อชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ให้กับคนฟัง แต่จะพูดแค่เฉพาะข้อมูลที่เป็น Highlights เท่านั้น การทำอินโฟกราฟิกจึงจะเหมาะกับงานนำเสนอของเรา หลักการเปลี่ยนเนื้อหาให้เป็นอินโฟกราฟิก มีดังนี้


  • นำด้วยตัวเลข สรุปความโดยใช้ตัวเลขเป็นไทม์ไลน์ หรือเน้นเฉพาะตัวเลขสำคัญ ๆ หรือใจความสำคัญ


  • ข้อมูลเด่น ข้อมูลที่นำมาทำเป็นอินโฟกราฟิกต้องมีความหมาย มีความน่าสนใจสูง อยู่ตรงกลางระหว่างสิ่งที่เราอยากให้คนฟังรู้และสิ่งที่คนฟังสนใจ ที่สำคัญข้อมูลต้องถูกต้องด้วย


  • สรุปให้สั้นและกระชับ อ่านแล้วเข้าใจได้เลยเมื่อจบประโยค อินโฟกราฟิกเป็นการออกแบบโดยใช้ภาพ ควรมีตัวหนังสือน้อยกว่าภาพ


  • ใช้กฏ 6x6 คือ มีคำไม่เกิน 6 คำต่อบรรทัด และไม่เกิน 6 บรรทัดต่อ 1 สไลด์เพื่อให้อ่านง่าย


AFTER

Cr. visme.co 



STEP 2 : เลือกรูปแบบอินโฟกราฟิก 


BEFORE


เมื่อได้เนื้อหาที่เหมาะจะทำเป็นอินโฟกราฟิกแล้ว ต่อมาคือการเลือกรูปแบบอินโฟกราฟิกที่จะใช้นำเสนอ ว่าเราจะนำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบไหน เช่น แผนผัง กราฟแท่ง กราฟเส้น กราฟวงกลม ไดอะแกรม (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกกราฟเพื่อทำสไลด์ได้ ที่นี่) หรือบางทีการใช้ตัวเลข และภาพก็เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ง่ายที่สุด เสร็จแล้วกำหนดธีม สี ฟอนต์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่เราจะนำเสนอต่อไป หลักการเลือกรูปแบบอินโฟกราฟิก มีดังนี้


  • รูปแบบอินโฟกราฟิกควรหลากหลาย คือ ผสมผสานกันทั้งกราฟ แผนภูมิ รูปภาพ (ทั้งนิ่งและเคลื่อนไหว) ตกแต่งสไลด์ด้วย Vectors หรือไอคอนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

 

  • สีที่ดึงดูดใจ เช่น โทนสีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีแดง สีเหลือง และสีเทา จะได้รับความนิยมมากที่สุด และไม่ควรใช้สีมากเกิน 4 สีต่องานนำเสนอหนึ่งงาน 


  • เลือกธีมให้เหมาะกับเนื้อหา หาไอเดียต่าง ๆ เพื่อกำหนดธีม เลือก Mood & Tone ให้เหมาะกับเนื้อหา 


  • หากทำในนามบริษัทให้ใช้ธีมเดียวกับบริษัท ควรใช้เทมเพลตเดียวกับบริษัท หรือสีที่ใกล้เคียงกับแบรนด์นั้น ๆ เพื่อความสวยงาม 


  • การเลือกภาพประกอบ ใช้ภาพที่มีความคมชัด ใช้ภาพใหญ่ภาพเดียวเเทนภาพเล็ก ๆ หลาย ๆ ภาพ 


AFTER



STEP 3 : การจัดวางองค์ประกอบ 


BEFORE


จำไว้ว่าการจัดวางองค์ประกอบที่ไม่ควรทำคือการจัดวางแบบที่ไม่มีจุดเน้นข้อมูลที่สำคัญ วางไปแบบเรียบ ๆ ไม่รู้ว่าเน้นตรงไหน ไม่เป็นระเบียบ การจัดวางองค์ประกอบที่ดีสำหรับการทำอินโฟกราฟิกควรมีจุดเน้นสายตาให้กับข้อมูลที่สำคัญในสไลด์อย่างชัดเจน ตรงไหนสำคัญให้เน้นตรงนั้น 


  • มีจุดนำสายตา ในหนึ่งสไลด์ต้องมีจุดเด่น 1 - 2 จุด ให้มองแล้วรู้เลยว่าเน้นตรงนี้  


  • Keep it simple ออกแบบให้สบายตา ภาพ กราฟิก สี ตารางและช่องว่างเป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบ อย่าใส่องค์ประกอบทุกที่ที่เราคิด จนมองสไลด์แล้วไม่สบายตา ไม่รู้จะอ่านตรงไหนก่อน


  • ทดสอบจริงก่อนนำเสนอ เปิดสไลด์บนจอนำเสนอจริง ๆ เพื่อเช็กความเรียบร้อย ขนาดของภาพ ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ ว่าใช้ได้หรือไม่ (อ่านบทความเกี่ยวกับการจัดวางองค์ประกอบได้ ที่นี่


AFTER



เคล็ดลับการทำ Infographic ยังมีอีกเพียบ ! หากใครสนใจเรียนรู้การทำสไลด์สไตล์ Infographic ด้วยโปรแกรม PowerPoint ที่มีเนื้อหาครบถ้วนที่สุด สอนโดยผู้เชี่ยวชาญตัวจริง ไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็เรียนได้ ขอแนะนำคอร์ส PowerPoint​ Infographic​ for​ Business สอนออกแบบ Presentation อย่างละเอียดด้วยเทคนิคการทำ PowerPoint Infographic ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำเสนองานให้ดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น คลิกเลย  




ที่มาข้อมูล

  • https://chachoengsao.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/9/2019/01/infographics_information.pdf
  • https://visme.co/blog/infographic-design/