การเล่าเรื่องถูกนำมาใช้ในทุกวัฒนธรรม ส่งต่อกันมารุ่นต่อรุ่นเพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน แล้วทำไมถึงต้องใช้วิธีการเล่าเรื่อง นั่นก็เพราะมนุษย์ชอบโครงสร้างการเล่าเรื่อง การวิจัยชี้ให้เห็นว่ามนุษย์รักการฟังเรื่องราวต่าง ๆ ขอยกตัวอย่างจากการศึกษา fMRI โดยนักประสาทวิทยา Uri Hasson ที่สรุปไว้ว่าการเล่าเรื่องทำให้เซลล์ประสาทของผู้ฟังประสานกับสมองของผู้เล่าเรื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมองของคุณจะตอบสนองเหมือนนักเล่าเรื่อง ดังนั้นคุณจึงรู้สึกถึงอารมณ์แบบเดียวกันจากเรื่องราวที่ได้รับฟัง
เมื่อคุณได้ยินเรื่องราว สมองของคุณจะตอบสนองราวกับว่ามันเป็นประสบการณ์จริง ลองนึกดูซิว่าเวลาที่คุณดูหนังสยองขวัญ คุณรู้สึกกลัวไหม หรือเวลาดูหนังดราม่า คุณเศร้าไปกับเรื่องนั้นด้วยหรือเปล่า นั่นเป็นเพราะคนเราชอบการฟังเรื่องราว เมื่อสมองได้รับเรื่องราว สมองจะประมวลผลราวกับว่ามันเกิดขึ้นกับตัวเรา และเราก็จะอินไปกับเรื่องนั้นด้วย ดังนั้น เมื่อนำการเล่าเรื่องมาใช้ในการนำเสนอ มันจะช่วยให้การนำเสนอของคุณทรงพลังมากขึ้น และการเล่าเรื่องยังถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมาก แต่คุณต้องรู้เทคนิคในการเล่าเรื่องด้วย
ก่อนอื่นคุณต้องค้นหาว่าคุณกำลังจะนำเสนอให้ใคร
เรื่องราวที่คุณจะนำมาเล่าควรมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะนำเสนอด้วย อย่าคิดว่าจะเล่าเรื่องอะไรก็ได้ เพราะผู้ฟังอาจสับสนว่าคุณต้องการจะนำเสนออะไรกันแน่ เรื่องราวที่เชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่นำเสนอจะช่วยให้การนำเสนอน่าสนใจและน่าฟังมากขึ้น
ในเรื่องราวที่จะเล่านั้นต้องมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นเพื่อให้เรื่องราวดึงดูดใจผู้ฟังของคุณ มันจึงจำเป็นต้องมีความขัดแย้งหรือการกระทำบางอย่างในเรื่องราวนั้น เช่น ปัญหา การต่อสู้ อุปสรรค เป็นต้น หากคุณนำเสนอทางธุรกิจก็อาจมีเล่าเรื่องที่ตัวละครมีปัญหาและต้องเอาชนะ เรื่องราวแบบนี้จะช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วมและพวกเขาจะอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
หลายคนอาจคิดว่าเรื่องราวที่ดีต้องมีจุดเริ่มต้น ตรงกลาง และจุดสิ้นสุด ซึ่งมันไม่จำเป็นเสมอไปเพราะเรื่องราวที่ดีไม่จำเป็นต้องความละเอียดเสมอไปก็ได้ การปล่อยให้ผู้ฟังขบคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อก็อาจทำให้พวกเขาตื่นเต้นมากกว่าเดิม และมันจะมีประโยชน์มากเมื่อคุณอธิบายประเด็นนี้ต่อในงานที่จะนำเสนอ เพราะพวกเขาจะตั้งใจฟังมาก ๆ
โดยการกระตุ้นอารมณ์บางอย่างในตัวผู้ฟัง พวกเขาจะรู้สึกเชื่อมโยงกับเรื่องราวมากขึ้น ซึ่งจะช่วยในเรื่องการมีส่วนร่วมและโน้มน้าวใจพวกเขา นอกจากนี้อารมณ์ยังช่วยเพิ่มการจดจำได้ดีด้วย
บอกเล่าเรื่องราวในชีวิตจริงเพื่อสร้างความไว้วางใจ หากคุณแต่งเรื่องขึ้นมาแล้วบอกว่ามันคือประสบการณ์จริง มันอาจไม่เป็นผลดีแน่ ๆ เพราะถ้าผู้ฟังรู้ว่าคุณไม่ซื่อสัตย์ มันอาจทำให้พวกเขามองคุณในแง่ลบไปตลอดกาลได้เลย และการนำเสนอในครั้งหน้าก็อาจทำให้พวกเขาไม่อยากฟังคุณอีก คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญคือเล่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ใช้น้ำเสียงการพูดคุยที่เป็นมิตร และอย่าใช้คำศัพท์เทคนิคที่ฟังเข้าใจยาก ๆ หากคุณต้องการเล่าเรื่องที่แต่งขึ้นก็ควรบอกผู้ฟังว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องจริง
การเล่าเรื่องราวที่ผิดพลาดของคุณ เช่น ตอนเด็ก ๆ ไม่ค่อยตั้งใจเรียน หรือช่วงอายุ 25 นั้นไม่มีอะไรราบรื่นเลย จะช่วยให้ผู้ฟังเห็นอกเห็นใจและเชื่อมโยงกับคุณมากขึ้น ซึ่งมันจะช่วยให้พวกเขารู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับคุณมากขึ้น รวมถึงยังรู้สึกสบายใจมากขึ้นด้วย แต่เรื่องที่จะเล่าควรเกี่ยวข้องกับเป้าหมายในการนำเสนอของคุณด้วยนะ
นี่คือเทคนิคดี ๆ ในการเล่าเรื่องที่หากคุณทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ฟังจะไม่ลืมเรื่องราวที่คุณเล่าเลย
เทคนิคทั่วไปในการนำเสนอตัวละครในการนำเสนอทางธุรกิจคือการเริ่มต้นด้วย "This is..." และตามด้วยชื่อตัวละครและหน้าที่การงาน และคุณลักษณะ/เรื่องราวเบื้องหลังที่สำคัญ ตัวอย่างเช่น "นี่คือไก่แจ้ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดที่ทำงานหนักแต่ทำงานหนักเกินไป ฯลฯ" การเล่าเรื่องแบบนี้จะช่วยให้ผู้ฟังตั้งใจฟังและอินไปกับเรื่องที่คุณเล่ามาก ๆ
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้วางแผนเรื่องต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนล่วงหน้า และต้องไม่ยาวเกินไป รวมถึงไม่ยาวเกินเวลาที่กำหนดด้วย
ที่มาข้อมูล