หัวใจและหลอดเลือด หน้าที่หลักคือ ?
3094 views | 16/12/2021
Copy link to clipboard
Hathaichanok Yimchan
Content Creator


หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญตำแหน่งอยู่ตรงกลางหน้าอกเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย มี หัวใจและหลอดเลือด เป็นศูนย์กลางของระบบไหลเวียนเลือดสูบฉีดไปทั่วร่างกาย โดยหัวใจทำหน้าที่ปั๊มและหลอดเลือดเป็นท่อนำทางลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ทุกระบบทำงานได้ตามปกติ หัวใจทำงานตลอด 24 ชั่วโมง หากมีความผิดปกติเกิดกับหัวใจถือเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว มาเรียนรู้หน้าที่หลักและเข้าใจการทำงานของหัวใจกัน


ส่วนประกอบของหัวใจ ประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้ 


1.กล้ามเนื้อหัวใจ ทำหน้าที่ส่งเลือดไปยังระบบไหลเวียนโลหิต เมื่อหัวใจบีบตัวเกิดเป็นแรงดันส่งเลือดไปตามหลอดเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย หากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติจะกลายเป็นปัญหาร้ายแรง เช่น เกิดพังผืดทำให้ บีบตัวและคลายตัวผิดปกติ มีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือขาดเลือด หากไม่ได้ดูแลรักษาถูกต้องรวดเร็วอาจมีโอกาสเสียชีวิตกะทันหัน


2.ผนังกั้นห้องหัวใจ และลิ้นหัวใจ มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ แบ่งหัวใจออกเป็น 4 ห้อง โดยผนังกั้นห้องหัวใจแบ่งออกเป็นด้านซ้ายและขวา ส่วนลิ้นหัวใจแบ่งเป็นห้องบนและล่าง หากผนังกั้นห้องหัวใจมีรูรั่วเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะเป็นสาเหตุของโรคมากมาย ความผิดปกติที่เกิดกับลิ้นหัวใจคืออาการลิ้นหัวใจรั่วและลิ้นหัวใจตีบ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดมีปัญหา ทำให้หัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้


3.เยื่อหุ้มหัวใจ มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ ห่อหุ้มชั้นนอกเพื่อปกป้องหัวใจเอาไว้ แบ่งเป็น 2 ชั้นคือเยื่อหุ้มหัวใจชั้นในบุผนังติดกับหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจชั้นนอกติดกับปอดและอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งจะมีน้ำหล่อลื่นระหว่างเยื่อหุ้มหัวใจ 2 ชั้นป้องกันไม่ให้หัวใจเสียดสีกับอวัยวะอื่นระหว่างที่หัวใจบีบตัวและคลายตัว


4.หลอดเลือดหัวใจ อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มหัวใจ หลอดเลือดแตกกิ่งก้านสาขาเล็ก ๆ ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจมี 2 เส้นคือด้านขวาและด้านซ้าย



การทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด

คนเรามีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขเพราะหัวใจเต้นและปอดหายใจ โดยระบบ หัวใจและหลอดเลือด หน้าที่ สำคัญคือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตลอดเวลา หัวใจบีบตัวเกิดแรงดันสูบฉีดเลือดไปตามหลอดเลือดเข้าสู่ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและส่งคาร์บอนไดออกไซด์กลับมายังปอดอีกครั้ง สำหรับวงจรการไหลเวียนเลือดเริ่มจากหัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำที่ไหลกลับมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่งไปยังหัวใจห้องขวาล่าง และส่งเลือดดำผ่านหลอดเลือดไปฟอกที่ปอด จากนั้นเลือดแดงจะไหลผ่านหลอดเลือดใหญ่เวียนกลับไปที่หัวใจห้องซ้ายบนและไหลผ่านลิ้นหัวใจลงไปห้องซ้ายล่างเพื่อส่งกลับไปไหลเวียนทั่วร่างกายอีกครั้ง


หัวใจมีขนาดใกล้เคียงกำปั้นของคนเราและน้ำหนักเท่ากับ 1% ของน้ำหนักตัว เลือดในตัวเรามีปริมาณราว 5 ลิตร หัวใจต้องบีบตัววันละ 1,500 ครั้งเพื่อสูบฉีดเลือดไหลเวียนในร่างกายปริมาณ 7,000 ลิตรต่อวัน คิดเป็นอัตราส่วนการใช้พลังงานมากถึง 10% ของพลังงานทั้งหมดในร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจต้องแข็งแรงมากถึงทำงานหนักได้ดีตลอดเวลา ระบบไหลเวียนเลือดจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพดี คนอายุน้อยหัวใจแข็งแรงบีบตัวส่งเลือดไหลไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย ไม่เพียงทำให้สุขภาพดีเท่านั้นแต่มีผลให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล ผิวสวยดูดีและอ่อนวัย เมื่ออายุมากขึ้น หากเกิดความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ความบกพร่องของหัวใจ รวมถึงหลอดเลือด หรือความเสื่อมถอยของระบบการไหลเวียนเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดผิดปกติ มีผลต่อร่างกาย และชีวิตก็จะเสี่ยงอันตรายจากโรคภัยมากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดในสมองตีบ



ลักษณะของหลอดเลือดหัวใจแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้


1.หลอดเลือดเเดง คือหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ โดยลักษณะของหลอดเลือดแดงจะแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดแดงเล็ก ๆ ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ส่วนปลายของหลอดเลือดแดงจะเชื่อมต่อกับหลอดเลือดฝอย หลอดเลือดแดงมีผนัง 3 ชั้น ผนังของหลอดเลือดแดงมีความเหนียวและความยืดหยุ่นสูง ไม่มีลิ้นกั้นภายใน หลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีขนาดใหญ่เพื่อรองรับแรงดันที่ส่งเลือดออกมา จากนั้นเส้นเลือดจะเล็กลงไปเรื่อยจนถึงตอนปลายซึ่งเป็นหลอดเลือดฝอย 


2.หลอดเลือดดำ คือหลอดเลือดที่เข้าสู่หัวใจ ทำหน้าที่นำเลือดที่จากเซลล์และเนื้อเยื่อส่งกลับคืนหัวใจเพื่อฟอกเลือดให้กลายเป็นเลือดแดง หลอดเลือดดำมีผนัง 3 ชั้น ลักษณะของผนังหลอดเลือดดำบางกว่าหลอดเลือดแดง ทั้งยังมีความเหนียวและความยืดหยุ่นน้อยกว่า มีลิ้นกั้นภายในเป็นระยะเพื่อบังคับให้เลือดไหลไปทิศทางเดียวและเลือดไม่ไหลย้อนกลับ หลอดเลือดดำใกล้หัวใจและค่อย ๆ เรียวเล็กลงจนถึงตอนปลายซึ่งเป็นหลอดเลือดฝอยเช่นเดียวกับหลอดเลือดแดง


3.หลอดเลือดฝอย คือหลอดเลือดที่รับเลือดต่อจากหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดดำ หลอดเลือดฝอยมีขนาดเล็กมากและมีผนังบาง ๆ เพียงชั้นเดียว ความดันภายในหลอดเลือดฝอยต่ำกว่าหลอดเลือดดำและแดง หลอดเลือดฝอยอยู่ระหว่างหลอดเลือดแดงเล็กและหลอดเลือดดำเล็กทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน สารอาหาร น้ำ และของเสียระหว่างเลือดและเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย



โรคที่เกิดขึ้นกับระบบ หัวใจและหลอดเลือด


หัวใจและหลอดเลือด หน้าที่ ทำงานไม่มีหยุดตลอด 24 ชั่วโมง หากเกิดความผิดปกติไม่ว่าจะตำแหน่งไหนอาจเกิดโรคและความเจ็บป่วยได้ทั้งหมด เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม ลิ้นหัวใจรั่ว เส้นเลือดหัวใจตีบ โรคเกี่ยวกับความดันโลหิต เป็นต้น


ความดันโลหิตสูง เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย เกณฑ์วัดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะมีค่าความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยเฉพาะเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ความดันภายในหลอดเลือดแดงมีระดับสูงผิดปกติ อาจเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแดงโป่งพอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ เป็นต้น



โรคกล้ามเนื้อหัวใจจากความดันโลหิตสูง เกิดกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ถือเป็นอีกภัยเงียบที่น่ากลัว ความดันโลหิตสูงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักเพราะต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้น ผนังหัวใจห้องซ้ายบนจะหนาขึ้นและแข็งตัว ทำให้ประสิทธิภาพการปั๊มเลือดออกจากหัวใจลดลง เป็นผลให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ อาจเป็นสาเหตุให้หัวใจวายหรือหยุดเต้นเฉียบพลัน

โรคหลอดเลือดหัวใจหรือหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดเป็น ส่วนประกอบของหัวใจ หากภายในหลอดเลือดมีไขมันอุดตันทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปยังหัวใจได้เพียงพอ ส่งผลให้หัวใจขาดเลือด สังเกตได้ว่าจะมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจติดขัด ปวดหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณหน้าอก อาจเกิดอาการหัวใจวายได้ทุกเมื่อ


คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่

ใครมีความเสี่ยงบ้าง มักจะเป็นผู้สูงวัย ถ้าเป็นชายมีอายุมากกว่า 45 ปี หรือหญิงอายุมากกว่า 55 ปี มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ชอบรับประทานฟาสต์ฟู้ดและอาหารไขมันสูง น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์ มีระดับไขมันในเลือดสูงและคอเลสเตอรอลสูง มีภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไม่ชอบออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดและวิตกกังวลอยู่เสมอ โรคเกี่ยวกับหัวใจส่วนใหญ่ป้องกันได้หากดูแลสุขภาพร่างกายและหัวใจอย่างเอาใจใส่สม่ำเสมอ


การทำงานของหัวใจกับการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับหัวใจอย่างไร หัวใจผู้ใหญ่ปกติจะเต้นประมาณ 60-100 ครั้งทุกนาที ขณะออกกำลังกายหัวใจตอบสนองด้วยการเต้นเร็ว เต้นแรง และหายใจเร็ว เร่งฟอกเลือดดำและสูบฉีดเลือดแดงกลับไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในร่างกายที่ต้องการอาหารและออกซิเจนเพิ่มขึ้น เลือดจะไหลเวียนได้สะดวก ขณะเดียวกันยังเป็นการถ่ายเทของเสียจากกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ออกจากร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อใช้งานได้ดีขึ้น การทำงานของหัวใจและร่างกายมีประสิทธิภาพดีขึ้น


สุขภาพหัวใจดูแลได้หากคอยสังเกตความผิดปกติ เช่น หน้ามืดวูบหมดสติ ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเหนื่อยเร็ว หากเริ่มมีอาการของโรคต่าง ๆ แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้หัวใจแข็งแรงมีสุขภาพดี

ที่มาข้อมูล

  • https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/acute-coronary-syndrome
  • https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2009/knowledge-is-power-in-the-fight-against-heart-dise
  • https://www.news-medical.net/health/Structure-and-Function-of-the-Heart.aspx
  • http://www.idoctorhouse.com/library/physiology-heart/
  • https://safeheartgroup.com/เรามาทำความรู้จักกับ-ห/
  • http://www.thaiheart.org/รู้จักหัวใจ/รู้จักหัวใจ.html