จะเห็นว่าบางสถาบันให้ความสำคัญกับคะแนนของ PAT 4 เป็นอย่างมาก ในขณะที่บางแห่งใช้เกณฑ์นี้เพียงแค่เล็กน้อย ดังนั้นควรวางแผนและเช็คคะแนนสูง-ต่ำ ของแต่ละมหาวิทยาลัยที่ต้องการเข้าศึกษาต่อให้ดี เพื่อที่จะไม่พลาดคณะในฝัน
ตัวข้อสอบ PAT 4 นั้น ภายหลังจากปี 2563 เนื้อหาของวิชา PAT4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ โดยมีเนื้อหาที่ออกข้อสอบดังนี้
โดยรูปแบบข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
โดยทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ) ได้เปิดเผยกระดาษคำตอบ ความถนัดสถาปัตย์ PAT 4 ออกมา เผยให้เห็นว่าข้อสอบอัตนัย 4 ข้อ นักเรียนจะต้องใช้ความสามารถทางศิลปะของตนเอง เช่น ระบายโทนสี เทา-ดำ ลงในช่องให้เป็นภาพตามที่กำหนดในโจทย์ 2 แบบ ที่แตกต่างกัน
วาดรูป 2 แบบ เป็นต้น ซึ่งสามารถดูตัวอย่างกระดาษคำตอบที่มีการเปลี่ยนล่าสุดได้ที่นี่
https://www.niets.or.th/uploads/editor/files/GAT-PAT/Data%20Pat4%201Y164.pdf
ข้อใดไม่ใช่การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design)
ส่วนที่ 2 ให้ผู้สอบเลือกคำตอบจาก 3 หมวดที่กำหนด ให้มีความสัมพันธ์กัน จำนวน 10 ข้อ รวม 30 คะแนน โดยรูปที่ให้มาจะเป็นภาพไอโซเมตริก 3 มิติ ผู้สอบจะต้องเลือกรูป 2 มิติ จากตัวเลือกในหมวดรูปด้านบน หมวดรูปด้านหน้าและหมวดรูปด้านข้าง หมวดละ 1 รูปตามลำดับ ที่ตรงกับรูปทรง 3 มิติที่กำหนดให้ในโจทย์แต่ละข้อ ผู้สอบต้องเลือกรูป 2 มิติให้ครบทั้ง 3 หมวด มิฉะนั้นจะไม่ได้คะแนนในข้อนั้น ๆ แต่ละข้อมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ดังตัวอย่างด้านล่าง
จากโจทย์ภาพสามมิติด้านบน ให้เลือกว่า ข้อใดเป็นภาพในมุมมองด้านบน ด้านหน้า และด้านข้าง ตามลำดับ
1.
2.
3.
ส่วนที่ 3 เป็นการตอบแบบอัตนัย ให้ทำในกระดาษคำตอบที่จัดไว้ให้ 1 แผ่น ให้ใช้ดินสอหรือปากกาที่หมึกไม่ซึมทะลุกระดาษคำตอบ
โดยโจทย์จะแบ่งออกเป็น 4 ข้อ
1.โจทย์การระบายโทนสี เทา-ดำ ลงในรูปภาพที่กำหนดมา ซึ่งผู้เข้าสอบจะต้องฝนภาพตามช่องที่กำหนดโดยแบ่งระดับความเข้มเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ขาว-เทาและดำ ซึ่งข้อสอบในส่วนนี้ต้องการที่จะวัดทักษะผู้เข้าสอบในเรื่องของการจัดองค์ประกอบ แสงและเงา ความลึกของภาพ ใกล้-ไกล การไล่ระดับความเข้ม ผู้เข้าสอบจะต้องฝึกฝนทักษะตรงส่วนนี้ให้ดี
2.วาดภาพตามที่โจทย์กำหนดมา เช่น
3. การออกแบบโลโก้ ตามที่โจทย์กำหนด
4. การวาดภาพในรูปแบบ ไอโซเมตริก ตามที่โจทย์กำหนดมาเป็นต้น
สำหรับเกณฑ์การให้คะแนนประกอบไปด้วย
การวาดรูปในส่วนที่ 3 นี้ มีคะแนนรวมทั้งสิ้น 210 คะแนน ผู้เข้าสอบควรทำการฝึกวาดรูปตามโจทย์ที่กำหนดมาให้ได้ ทั้งการให้แสง เงาและจัดองค์ประกอบของรูปให้เหมาะสม การวาดในรูปแบบ Bird’s eyes view รวมถึงการวาดตามวัตถุประสงค์ของโจทย์ที่กำหนดมาให้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำคะแนนให้ได้มากที่สุด
คราวนี้มาถึงวิชาของน้อง ๆ ที่สนใจเรียนด้านศิลปกรรมกันบ้าง โดย PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกปรนัย 4 ตัวเลือก 90 ข้อ เนื้อหาจะประกอบไปด้วยเรื่องทฤษฎีทัศนศิลป์, นาฏศิลป์, ออกแบบ, ดนตรีและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิชาศิลปกรรมศาสตร์และส่วนที่ 2 เติมคำให้สัมพันธ์กับที่โจทย์กำหนดมา 10 ข้อ ใช้ระยะเวลาในการทำ 3 ชั่วโมง
ตัวอย่างข้อสอบเก่า PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
1.ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าอุดมคดิทางความงามหมายถึงข้อใด
1.Art
2.Aesthetics
3.Architecture
4.Beauty
2.ประวัติศาสตร์ศิลป์สะท้อนวิวัฒนาการงานสร้างสรรค์ศิลปะของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคปัจจุบัน ถ้ากล่าวถึง ศิลปะตะวันตก หมายถึงข้อใด
3.ข้อใดไม่ใช่ประเด็นที่จิตรกรรมไทยยุคโบราณถูกนำมาพัฒนาต่อในจิตรกรรมไทยร่วมสมัย
4. ปราสาทหินพบมากในแถบภูมิภาคใดของไทย
5.ประเทศใดเป็นศูนย์กลางของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
6.ปราสาทหินที่ปรากฏในประเทศไทยได้รับอิทธิพลการสร้างมาจากศิลปะใด
7.หัวเสาในสถาปัตยกรรมกรีกที่มีรูปใบไม้เป็นส่วนประกอบคือข้อใด
8.ศิลปะการแต่ง หน้างิ้ว ด้วย สีน้ำเงิน บอกนิสัยตัวละครแบบใด
9.อุปกรณ์สำนักงานชิ้นใดต่อไปนี้ไม่เข้าพวก
10.การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ไม่ควรนำสัตว์ชนิดใดมาใช้ในการออกแบบสัญลักษณ์นำโชค (Mascot)
11.หนังใหญ่ วัดขนอน จังหวัดราชบุรี เป็นการแสดงของไทยที่เกิดจากการผสมผสานของศิลปะหลายสาขาไว้ด้วยกันศิลปะในข้อใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงนี้
12.สีน้ำ (Water Color) และสีอะคริลิค (Acrylic Color) มีคุณลักษณะเหมือนกันอย่างไร
13.กรมช่างสิบหมู่ ปรากฏหลักฐานชัดเจนในรัชกาลใดของราชวงศ์จักรี
14.ช่างเมืองเพชรบุรี มีความโดดเด่นในงานประเภทใด
15.แสงสีเหลือง เกิดจากการผสมของแสงสีอะไร
ตัวอย่างข้อสอบวิชา PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ สามารถเข้าดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือ >>>คลิก<<<
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อสอบเก่าของวิชา PAT 4 คือ การสอบ ความถนัดสถาปัตย์ และ PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ ที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมสอบเข้าคณะในฝัน นอกจากลองทำข้อสอบแล้ว อย่าอ่านหนังสือ ฝึกมือวาดเขียน ให้เต็มที่ แค่นี้คณะที่อยากเรียนก็ไม่น่าไกลเกินเอื้อมแล้ว
ที่มาข้อมูล