โครงสร้างเนื้อหาข้อสอบ TGAT ความถนัดทั่วไป ทั้ง 3 พาร์ต ออกอะไรบ้าง
6582 views | 21/06/2022
Copy link to clipboard
pan peechaya
Content Creator

     TGAT รูปแบบข้อสอบใหม่ ที่ทาง ทปอ. ประกาศจะเริ่มใช้สอบในปี 66 เป็นต้นไป จากเดิมคือข้อสอบ GAT มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาการสอบ เน้นประะยุกต์ใช้มากขึ้น โครงสร้างเนื้อหาข้อสอบ TGAT ความถนัดทั่วไป ทั้ง 3 พาร์ต ออกอะไรบ้าง เราไปเช็กกันเลย !



TGAT ความถนัดทั่วไป ทั้ง 3 พาร์ต

- TGAT 1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ

- TGAT 2 การคิดอย่างมีเหตุผล

- TGAT 3 สมรรถนะการทำงาน



TGAT 1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ

ทักษะการพูด Speaking Skill 50 คะแนน 30 ข้อ

1) การถาม–ตอบ (Question-Response)

  • จำนวนข้อคำถาม (10 ข้อ)
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

2) เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short Conversations)

  • จำนวนข้อคำถาม (3 – 4 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)

3) เติมบทสนทนาแบบยาว (Long Conversations)

  • จำนวนข้อคำถาม (5 ข้อ/บทสนทนา รวม 10 ข้อ)
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)


ทักษะการอ่าน Reading Skill 50 คะแนน 30 ข้อ

1) เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text completion)

  • จำนวนข้อคำถาม (7-8 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 9 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)

2) อ่านเพื่อจับใจความ (Reading comprehension)

  • จำนวนข้อคำถาม (5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ)
  • ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 9 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)


ระดับความยากง่ายของข้อสอบทั้งฉบับ

  • ระดับง่าย 20% (12 ข้อ)
  • ระดับปานกลาง 60% (36 ข้อ)
  • ระดับยาก 20% (12 ข้อ)


ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

จำนวนข้อ ทักษะการพูด (Speaking Skill) 30 ข้อ

ทักษะการอ่าน (Reading Skill) 30 ข้อ

รวม 60 ข้อ

ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที

คะแนนเต็ม 100



TGAT 2 การคิดอย่างมีเหตุผล

สมรรถนะการคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking)

1) ความสามารถทางภาษา

2) ความสามารถทางตัวเลข

3) ความสามารถทางมิติสัมพันธ์

4) ความสามารถทางเหตุผล


จำนวน 80 ข้อ

ประเภทข้อสอบ ปรนัย (5 ตัวเลือก)

ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที

คะแนนเต็ม 100



TGAT 3 สมรรถนะการทำงาน

1) การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ

1.1 การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) ความเข้าใจในการกำหนดวิธีการรวบรวมประเด็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีหลักการในการสรุปผลการวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลที่ได้รับออกเป็นปัจจัยย่อย ๆ เช่น สาเหตุ ผลลัพธ์ ผลกระทบ ข้อเสนอแนะ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

1.2 การแก้ไขปัญหาอย่างมืออาชีพ (Professional problem solving) ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาหรือเล็งปัญหา พร้อมทั้งลงมือจัดการกับปัญหานั้น ๆ อย่างมี ข้อมูล มีหลักการ และสามารถนำความเชี่ยวชาญ หรือแนวคิดในสายวิชาชีพมาประยุกต์ใช้ในการ แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3 ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ทางเลือก สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งการปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ นโยบาย และรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงการพูดจูงใจผู้อื่น นำเสนอความคิดและรูปแบบของสินค้า บริการ และวิธีการดำเนินงานรูปแบบใหม่


2) การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ

2.1 การระบุปัญหา (Identifying problems) ประกอบด้วย ทำความเข้าใจบริบทแวดล้อม การระบุและทำความเข้าใจปัญหา การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการระบุปัญหา

2.2 การแสวงหาทางออก (Generating and selecting solutions) ประกอบด้วย การสร้างและหาทางเลือก และการประเมินทางเลือกที่เหมาะสม

2.3 การนำทางออกไปแก้ปัญหา (Implementation) ประกอบด้วย การปฏิบัติตามแผน และการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

2.4 การประเมินทางออกเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (Evaluation) ประกอบด้วย เก็บข้อมูลจากการนำทางออกไปลองใช้ และสรุปผลจากการนำทางออกไปลองใช้


3) การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ

3.1 ความตระหนักรู้ตนเอง (Self awareness) การรับรู้ ควบคุมสภาพอารมณ์ และทัศนคติ เพื่อรักษาอารมณ์ และประสิทธิภาพของตนเอง แม้ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดหรือมีภาระสูง มีความตระหนักถึงจุดแข็งของตนเอง รวมถึงจุดที่ต้องพัฒนา โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

3.2 การควบคุมอารมณ์และบุคลิกภาพ (Personality and emotional control) ความสามารถในการแสดงออก ทางสีหน้า ท่าทาง และอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อต้องเผชิญกับบุคคล ลักษณะงาน และสถานการณ์ที่ตึงเครียด รวมถึงการให้คำปรึกษา แนะนำและสอนผู้อื่น ให้ควบคุมอารมณ์และบุคคลิภาพได้อย่างเหมาะสม

3.3 ความเข้าใจผู้อื่น (Interpersonal understanding) ความเข้าใจความต้องการ ความกังวล และความรู้สึกของผู้อื่น ทั้งสิ่งที่แสดงออกและไม่แสดงออก และความสามารถในการตอบสนอง และให้ความช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม และเท่าเทียมกัน


4) การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ

4.1 การมุ่งเน้นการบริการสังคม (Service orientation) การคิด และทำสิ่งต่าง ๆ โดยมีความต้องการของสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในใจเสมอ โดยมุ่งเน้นการศึกษา และทำความเข้าใจความต้องการต่าง ๆ แสดงถึงความมุ่งมั่นต้องการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง พร้อมพัฒนาและ รักษาความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน

4.2 จิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental responsibility) การมีจิตสำนึก ตระหนักให้ความสำคัญ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความมุ่งมั่นและทุ่มเทที่จะอนุรักษ์ และรักษาสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนให้น่าอยู่ ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน หรือร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคม และสิ่งแวดล้อมขององค์กรอย่างเต็มที่ เพื่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยรวม

4.3 การสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (Creating local benefits) ความสามารถในการคิดค้น ออกแบบ และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่แปลกและแตกต่างไปจากเดิม โดยการมุ่งเน้นพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว และยั่งยืนให้แก่ประชาชน พื้นที่ หรือท้องถิ่นที่รับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม


ประเภทข้อสอบ ปรนัย (4 ตัวเลือก)

เพื่อวัดทัศนคติ 4 ระดับ ทุกคำตอบจะมีคะแนนอยู่ในช่วงระหว่าง 0-1 คะแนน

การตอบคำถาม มี 2 แบบ คือ

1) เลือกตอบตัวเลือกเดียว

2) เลือกตอบหลายตัวเลือก

ระยะเวลาที่ใช้สอบ 60 นาที

คะแนนเต็ม 100


เนื้อหาข้อสอบ TGAT ความถนัดทั่วไป ทั้ง 3 พาร์ต ออกอะไรบ้าง

ที่มาข้อมูล

  • https://blueprint.mytcas.com