Passive Voice เคล็ดไม่ลับของคนถูกกระทำในภาษาอังกฤษ
12219 views | 04/01/2022
Copy link to clipboard
Arrietty .
Content Creator

น้อง ๆ ม. ปลายน่าจะคุ้นเคยกันดีกับภาษาอังกฤษที่เรียนกันมาหลายสิบปี ว่าใน 1 ประโยคของภาษาอังกฤษนั้นประกอบไปด้วย Subject (ประธาน) + Verb (กริยา) หรือบางทีอาจมี Complements (ส่วนเติมเต็ม) ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประธานก็เป็นผู้ลงมือทำแต่เพียงฝ่ายเดียว เคยลองนึกกันเล่น ๆ มั้ยครับว่าถ้าในทางกลับกันคือ ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ จะมีวิธีการแต่งประโยคอย่างไร มีความแตกต่างจากโครงสร้างประโยคธรรมดาทั่วไปอย่างไรบ้าง 

   

    วันนี้เรามาดู เคล็ดไม่ลับของคนถูกกระทำ หรือ Passive Voice กันดีกว่าครับ แค่ชื่อก็ดูน่าติดตามแล้วใช่ไหม โดยก่อนที่จะไปทำความรู้จักว่า Passive Voice คือ อะไร เราต้องรู้จักกับ Active Voice กันก่อนครับ เพราะถือเป็นพื้นฐานของเรื่อง Passive Voice โดยตรงครับ และจะทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากขึ้นด้วย


Active Voice หมายถึง ประโยคที่ประธานเป็นผู้ทำกริยาโดยตรง กริยาจะเป็น Transitive Verb (สกรรมกริยา กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ) หรือ Intransitive Verb (อกรรมกริยา กริยาที่ไม่มีกรรมมารับ) ก็ได้ เช่น

   -She eats rice. (Transitive verb)

     -He cries. (Intransitive verb)


Passive Voice หมายถึง ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ กริยาเป็น Transitive Verb เท่านั้น เช่น

     -Rice is eaten by Thai people. 

โดยที่โครงสร้างหลักของ Passive Voice คือ

Verb to be (is/am/are/was/were) + V. 3 (Past Participle)


การแปล สำหรับการแปลนั้นจะมีความแตกต่างจากการแปลประโยคโดยทั่วไป คือจะมีการเติมคำว่า ถูก หรือ ได้รับ เข้าไปหน้ากริยาแท้ของประโยค และ ใส่คำว่า โดย หน้าผู้ที่กระทำกริยานั้น ตัวอย่าง การใช้ Passive Voice เช่น

  - These mangoes were eaten by me. แปล มะม่วงเหล่านี้ ถูก กิน โดย ฉัน

  - This evening grown is designed by Marry แปล ชุดราตรีชุดนี้ ได้รับ การออกแบบ โดย แมรี่



Passive Voice แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. Statement ประโยคบอกเล่า
  2. Question ประโยคคำถาม
  3. Command ประโยคคำสั่ง



1. Passive Voice in statement (ประโยคบอกเล่า)

หมายถึง ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำในรูปบอกเล่า Passive Voice โครงสร้าง เป็นดังนี้


Subject + Verb to be + V. 3 (Past Participle)


หลักในการเปลี่ยนจากประโยค Active Voice ให้เป็น Passive Voice โครงสร้าง มีดังนี้

  1. เอากรรมในประโยค Active Voice มาเป็นประธานในประโยค Passive Voice ถ้าเป็นคำนามให้คงรูปเดิม แต่ถ้าเป็นคำสรรพนามในรูปกรรม ต้องเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของประธาน “นำกรรมมาเป็นประธาน นำประธานมาเป็นกรรม”
  2. เปลี่ยน Verb to be ให้อยู่ใน tense เดียวกับกริยาหลักของประโยค Active Voice และผันตามประธานตัวใหม่ในประโยค Passive Voice ดังนี้ “คงเอกลักษณ์ของ tense เดิม ผสมผสาน กับโครงสร้าง S+ V to be + V3”
  3. เปลี่ยนกริยาหลักในประโยค Active voice เป็นกริยาช่องที่ 3
  4. เอาประธานในประโยค Active voice ไปเป็นกรรมในประโยค Passive voice โดยมี by นำหน้า

ถ้าเป็นคำนามให้คงเดิม ถ้าเป็นคำสรรพนามต้องเปลี่ยนให้อยู่ในรูปกรรมก็ได้ ซึ่งบางกรณีถ้าพอจะรู้อยู่แล้วว่ากระทำโดยใคร ส่วนของ by นั้นอาจจะละเลยไปก็ได้


ตารางแสดงการเปลี่ยนTense ของ verb to be ใน Passive Voice



ตัวอย่าง การใช้ Passive Voice


1. Present Simple

    Active: He drinks coffee.

    Passive: Coffee is drunk by him.


2. Present Continuous

    Active: She is eating mangoes.

    Passive: Mangoes are being eaten by her.


3. Present Perfect

    Active: They have written these letters.

    Passive: These letters have been written by them.


4. Past Simple

    Active: He drank coffee.

    Passive: Coffee was drunk by him.


5. Past Continuous

    Active: She was eating mangoes.

    Passive: Mangoes were being eaten by her.


6. Past Perfect

    Active: We had finished this exercise.

    Passive: This exercise had been finished by us.


7. Future Simple

    Active: Mary will write an essay.

    Passive: An essay will be written by Mary.


8. Future Continuous

    Active: John will be sending a letter.

    Passive: A letter will be being sent by John.


9. Future Perfect

    Active: I will have cleaned this room.

    Passive: This room will have been cleaned by me.



หมายเหตุ:

1. เมื่อประธานในประโยค Active ได้แก่ everyone, everybody, people, someone, somebody, no one, nobody, anyone, anybody ไม่ต้องนำคำเหล่านี้วางไว้หลัง by ในประโยค Passive เช่น

    Active: Someone is singing Thai songs.

    Passive: Thai songs are being sung.


2. ถ้าประโยค Active Voice มีกริยาช่วย (Helping Verb) เหล่านี้ เช่น can, could, may, might, must, has to, have to, ought to และ (be) going to เมื่อเปลี่ยนเป็น Passive Voice ให้ใช้

S + Helping Verb + be + V3


เช่น

    Active: Sam can drive a lorry.

    Passive: A lorry can be driven by Sam.


3. ถ้าประโยค Active Voice มีกรรม 2 ตัว คือ กรรมตรง (Direct Object) ซึ่งเป็นสิ่งของ และ กรรมรอง (Indirect Object) ซึ่งเป็นบุคคล เมื่อเปลี่ยนเป็น Passive Voice จะใช้กรรมตัวไหนเป็นประธานก็ได้ แนะนำให้ท่องหลักการนี้ไว้เพื่อให้จำง่ายขึ้น “กรรมตรงสิ่งของ กรรมรองบุคคล” เช่น


    Active: She gave me a dress.

    Passive: I was given a dress by her.

    Passive: A dress was given to me by her.

 ***ข้อสังเกต ถ้าเอากรรมตรงขึ้นเป็นประธาน ให้ใส่ “to”หน้ากรรมรอง


4. ถ้ากริยาเป็นกริยาผสม (two-word verbs) ได้แก่ verb + preposition เช่น look for (หา), turn in (ส่ง), call on (ไปเยี่ยม) etc. เมื่อเปลี่ยนเป็น Passive Voice ให้เปลี่ยนเฉพาะ verb เป็นช่องที่ 3

    Active: He called on me.

    Passive: I was called on by him.



2. Passive Voice in Question (ประโยคคำถาม)

หมายถึง ประธานเป็นผู้ถูกกระทำในรูปคำถาม ประโยคคำถามในรูป passive จะใช้กฎเช่นเดียวกับประโยคบอกเล่า แต่จะต้องเรียงลำดับตามโครงสร้างของประโยคคำถาม


2.1 คำถามขึ้นต้นด้วย Helping Verb

เปลี่ยนประโยคคำถามจาก Active voice เป็น Passive Voice โดยเอา Helping Verb ขึ้นต้นประโยค ตามด้วยประธาน กริยา และส่วนอื่น ๆ 

Helping Verb + Subject + V.3 (past participle)


ตัวอย่าง

    1. Active: Did she buy this book?

    Passive: Was this book bought by her?


    2. Active: Are they playing football?

     Passive: Is football being played by them?


    3. Active: Will Jennifer write an essay?

    Passive: Will an essay be written by Jennifer?


2.2 ประโยคคำถาม ขึ้นต้นด้วย Question Word

หลักในการเปลี่ยน Active Voice เป็น Passive Voice


1. เปลี่ยนประโยคคำถามจาก Active voice เป็น Passive Voice สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเอา Question Word ขึ้นต้นประโยค ตามด้วย Helping Verb, ประธาน, กริยา และส่วนอื่น ๆ ดังนี้

Question Word (Wh.) + Helping Verb + Subject + V.3 (past participle)

ตัวอย่าง เช่น


1. Active: Why did he do it?

    Passive: Why was it done by him?


2. Active: Where did she place it?

    Passive: Where was it placed by her?


3. คำว่า Who ใน Active Voice ให้เราเปลี่ยนเป็น By whom ใน Passive Voice แทน

    Active: Who wrote “Harry Potter”?

    Passive: By whom was “Harry Potter” written?


3. Passive Voice in command (ประโยคคำสั่ง)

หมายถึง ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำในรูปคำสั่ง จะขึ้นด้วยคำกริยา (Verbs) แต่ไม่มีประธาน สำหรับโครงสร้างของประโยคคำสั่งนั้น เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าจะมีการขึ้นต้นด้วย V1 เช่น Open the door (เปิดประตู) เรามาดูตัวอย่าง 2 รูปแบบดังนี้


3.1 ประโยคสั่งให้ทำ เมื่อเปลี่ยนเป็น passive voice โครงสร้าง จะเป็นดังนี้

Let + object + be + V.3 (past participle)


ตัวอย่าง เช่น

    1. Active: Clean it.

    Passive: Let it be cleaned.


    2. Active: Open your book.

    Passive: Let your book be opened.


    3. Active: Do it yourself.

     Passive: Let it be done by yourself.


3.2 ประโยคสั่งห้ามกระทำ/รูปปฏิเสธ จะใช้โครงสร้าง ดังนี้

Let + object + not + be + V.3 (past participle)


ตัวอย่าง เช่น

    1. Active: Don’t shut this window.

    Passive: Let this window not be shut.


    2. Active: Don’t kill the tiger.

    Passive: Let the tiger not be killed.


    3. Active: Don’t throw the litter here.

    Passive: Let the litter not be thrown here.



นี่คือทั้งหมดของ ความลับของผู้ถูกกระทำ หรือ passive voice คือ รูปแบบการใช้ประโยคที่แตกต่างจากประโยคธรรมดา และเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เลยนะครับ ถึงแม้ว่าในภาษาไทยจะไม่ได้พูดประโยคทำนองนี้บ่อย ๆ ก็ตาม

ที่มาข้อมูล

  • https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/33006