เตรียมความพร้อมก่อนลงสนามจริง คณะอะไรใช้คะแนน GAT/PAT อะไรบ้าง?
2695 views | 04/01/2022
Copy link to clipboard
Hathaichanok Yimchan
Content Creator


สำหรับนักเรียนที่กำลังเตรียมตัวสอบ GAT/PAT 65 ในบทความนี้จะมาสรุปข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้ และจะมาดูกันว่าแต่ละคณะต้องใช้คะแนน GAT/PAT อะไรบ้าง? โดยเริ่มจากข้อมูลพื้นฐานที่ต้องรู้ ดังนี้


GAT หรือ General Aptitude Test เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทั่วไป เพื่อดูความพร้อมของนักเรียนก่อนที่จะเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  (300 คะแนน) ได้แก่


  1. GAT1 ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาจากโจทย์ที่ได้รับ
  2. GAT2 ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ Vocabulary, Speaking and Conversation, Reading Comprehension, Structure and Writing 


PAT หรือ Professional and Academic Aptitude Test เป็นข้อสอบที่ใช้วัดความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ เพื่อใช้ประเมินดูว่านักเรียนที่เข้ารับการทดสอบนั้นจะมีความรู้ความสามารถด้านไหน ซึ่งประกอบไปด้วย 7 วิชาหลักดังนี้ (300 คะแนน)


  1. PAT1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ 
  2. PAT2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
  3. PAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
  4. PAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
  5. PAT5 ความถนัดทางวิชาชีพครู (ความรู้เฉพาะทางวิชาชีพครู )
  6. PAT6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
  7. PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ โดยจะแบ่งย่อยได้อีก 5 ภาษาด้วยกันได้แก่
  •  PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
  •  PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
  •  PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
  •  PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
  •  PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
  •  PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี


9 วิชาสามัญ 100 คะแนน

     9 วิชาสามัญ ประกอบไปด้วย คณิตศาสตร์1, คณิตศาสตร์2, วิทยาศาสตร์ทั่วไป, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาไทย, สังคมศึกษา และ ภาษาอังกฤษ

*** ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ที่ใช้วิธีการคิดคะแนนแตกต่างจากคณะอื่น ๆ ซึ่งในปีการศึกษา 2565 ทางระบบ TCAS จะไม่มีการนำคะแนน O-NET มาใช้ในการคัดเลือกทุกรูปแบบของทุกสถาบันที่ร่วมรับในระบบ TCAS  



      โดยแต่ละคณะหรือสาขาที่เข้าเรียนก็จะใช้ คะแนน GAT/PAT  ตามคณะที่เข้าเรียน เช่น คณะทันตแพทย์จะใช้ GAT+PAT1+PAT2, คณะเภสัชศาสตร์ ใช้ GAT+PAT2 เป็นต้น โดยจะต้องนำไปยื่น TCAS ในรอบถัดไปขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยกำหนด โดยแบ่งเป็น รอบ2 โควตา, รอบ3 รับตรงร่วมกัน, รอบ4 แอดมิชชัน GAT/PAT และรอบ5 รับตรงอิสระ 

หลังจากที่รู้ความหมายของ GAT/PAT กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปที่นักเรียนทุกคนควรรู้ก็คือ ในแต่ละคณะใช้ GAT/PAT 65 อะไรบ้าง? และมีองค์ประกอบใดบ้างที่มหาวิทยาลัยจะรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ โดยในบทความนี้จะข้ามไปยังการใช้คะแนน TCAS รอบที่ 4 แอดมิชชัน ซึ่งถือเป็นรอบคัดเลือกระดับประเทศที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด ประกอบไปด้วยข้อมูล 4 ส่วนที่ต้องนำมายื่นโดยคิดเป็นร้อยละในการพิจารณาดังนี้

  • GPAX หรือ เกรดเฉลี่ยสะสม คิดเป็นร้อยละ 20 
  • GAT คิดเป็นร้อยละ 10-50 %
  • PAT คิดเป็นร้อยละ 0-40 %
  • วิชาสามัญ คิดเป็นร้อยละ 10-30%


     ในแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีการปรับเปลี่ยนคะแนนในแต่ละส่วนเพื่อความเหมาะสมของแต่ละคณะ ซึ่งทางเราได้ทำการรวบรวม ข้อมูล GAT PAT คะแนนแอดมิชชัน ประจำปี 2565 ของมหาวิทยาลัยยอดนิยม พร้อมคณะยอดฮิตมาให้พิจารณาดังนี้



จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


คณะวิศวกรรมศาสตร์

1.1 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

1.2 เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ไม่ต่ำกว่า 2.50


คณะอักษรศาสตร์

2.1 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

2.2 เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่า 2.75


คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

3.1 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

3.2 เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าไม่ต่ำกว่า 3.00


คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

4.1 เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

4.2 เป็นผู้ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ตามที่หลักสูตรกำหนด ดังนี้

4.2.1 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (รูปแบบที่ 1) ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 -ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ไม่ต่ำกว่า 3.00

4.2.2 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (รูปแบบที่ 1) ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 -ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ไม่ต่ำกว่า 3.00

สำหรับรายละเอียดและข้อมูลคณะอื่น ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถดูเพิ่มเติมได้ ที่นี่  



มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


คณะนิติศาสตร์

แบบที่ 1 GAT 30% วิชาเฉพาะ(ข้อเขียนวิชาเฉพาะ มธ.) 70%

แบบที่ 2 GAT 70% PAT1 30%

แบบที่ 3 GAT 70% PAT7 30% (ยกเว้นอาหรับ/ บาลี/ เกาหลี)


คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี

รูปแบบ GAT 40% PAT1 60%

รูปแบบ วิชาสามัญ สังคม 10%, อังกฤษ 40%, คณิต1 50%


คณะเศรษศาสตร์

รูปแบบ GAT 30% PAT1 20% ไทย 15%, สังคม 10%, อังกฤษ 15%, GPAX 6 ภาคการศึกษา 10%

รูปแบบ PAT1 50%, ไทย 20%, สังคม 10%, อังกฤษ 20%


สถาบันเทคโนโลยีสิรินธร (หลักสูตรนานาชาติ) สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การจัดการวิศวกรรมและเทคโนโลยีการจัดการ GAT2 30%, คณิต1 70%, 

วิศวกรรมไฟฟ้า, วิศวกรรมโยธา, วิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมเคมี, วิศวกรรมอุตสาหการและระบบโลจิสติกส์ GAT2 30%, คณิต1 35%, ฟิสิกส์ 30%

วิศวกรรมดิจิทัลและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ GAT2 30%, คณิต1 70%

สำหรับรายละเอียดและข้อมูลคณะอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สามารถดูเพิ่มเติมได้ ที่นี่


มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


คณะวิศวกรรมศาสตร์

ความถนัดทั่วไป (GAT)30% ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 35%, ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (PAT 3 ) 35%


คณะวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์

ความถนัดทั่วไป (GAT) 30%, ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 30%, ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 40%


คณะวิทยาศาสตร์ สถิติ

เกรดเฉลี่ย 20%, ความถนัดทั่วไป (GAT) 30%, ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 25%, ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 25%


คณะวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์

เกรดเฉลี่ย 20%, ความถนัดทั่วไป (GAT) 30%, ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 50%


คณะเศรษฐศาสตร์

เกรดเฉลี่ย 10%, ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา (GAT1) 15%

ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ (GAT2) 15%, ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 10%

วิชาสามัญ 09 ภาษาไทย 10%, วิชาสามัญ 19 สังคมศึกษา 10%, วิชาสามัญ 29 ภาษาอังกฤษ 15%

วิชาสามัญ 39 คณิตศาสตร์ 1 15%



มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

  • เกรดเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 10%
  • เกรดเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 10%
  • เกรดเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 10%
  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 20%
  • ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 20%
  • ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 10%
  • ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (PAT 3) 20%


คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

  • เกรดเฉลี่ย 20%
  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 20%
  • ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 30%
  • ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (PAT 3) 30%


สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 20%
  • ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 30%
  • ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (PAT 3) 50%


คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 30%
  • ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ (PAT 4) 70%


คณะวิทยาศาสตร์ 

  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 20%
  • ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 30%
  • ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 50%


คณะเทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร

  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 20%
  • ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) 30%
  • ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) 50%


มหาวิทยาลัยขอนแก่น


คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

  • ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (PAT 3) 20%
  • วิชาสามัญ 29 ภาษาอังกฤษ 20%
  • วิชาสามัญ 39 คณิตศาสตร์ 1 25%
  • วิชาสามัญ 49 ฟิสิกส์ 25%
  • วิชาสามัญ 59 เคมี 10%


คณะวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์

  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 20%
  • วิชาสามัญ 29 ภาษาอังกฤษ 15%
  • วิชาสามัญ 39 คณิตศาสตร์ 1 20%
  • วิชาสามัญ 49 ฟิสิกส์ 25%
  • วิชาสามัญ 59 เคมี 15%
  • วิชาสามัญ 69 ชีววิทยา 5%


คณะวิทยาศาสตร์ เคมี

  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 20%
  • วิชาสามัญ 29 ภาษาอังกฤษ 15%
  • วิชาสามัญ 39 คณิตศาสตร์ 1 15%
  • วิชาสามัญ 49 ฟิสิกส์ 15%
  • วิชาสามัญ 59 เคมี 25%
  • วิชาสามัญ 69 ชีววิทยา 10% 


คณะวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์

  • ความถนัดทั่วไป (GAT) 20%
  • วิชาสามัญ 29 ภาษาอังกฤษ 30%
  • วิชาสามัญ 39 คณิตศาสตร์ 1 30%
  • วิชาสามัญ 49 ฟิสิกส์ 20%


ศึกษาศาสตรบัณฑิต ภาษาไทย

  • ความถนัดทางวิชาชีพครู (PAT 5) 10% (ความรู้เฉพาะทางวิชาชีพครู)
  • วิชาสามัญ 09 ภาษาไทย 40%
  • วิชาสามัญ 19 สังคมศึกษา 10%
  • วิชาสามัญ 29 ภาษาอังกฤษ 30%
  • วิชาสามัญ 39 คณิตศาสตร์ 1 10%


     สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ GAT/PAT 65 อย่าลืมตรวจสอบเกณฑ์การคิดคะแนนจากเว็บไซต์ tcas อย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากในแต่ละคณะและสาขาวิชาจะมีเกณฑ์การคิดคะแนนที่แตกต่างกันในรายละเอียดย่อย เช่น คณะวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ จะเน้นไปที่วิชาฟิสิกส์มากกว่า หรือสาขาเคมีก็จะเน้นไปที่คะแนนวิชาเคมีมากกว่า เป็นต้น นอกจากนี้บางมหาวิทยาลัยจะไม่มีการรับสมัครแบบแอดมิชชัน เช่น คณะแพทยศาสตร์ จะรับรอบที่ 1 แบบ Portfolio และแบบโควตาแทน

ที่มาข้อมูล

  • https://www.mytcas.com/
  • https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/70327
  • http://www.admissions.chula.ac.th/images/stories/2._3-2565.pdf
  • http://www.atc.chula.ac.th/TCAS/TCAS3.html