ใช้ if clause ยังไงใน Conditional sentences
6548 views | 30/12/2021
Copy link to clipboard
Arrietty .
Content Creator

ในชีวิตประจำวันเมื่อมีคำว่า “ถ้า” เกิดขึ้นส่วนใหญ่หมายถึงคนที่พูดจะต้องแสดงเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์บางอย่างกลับมาเสมอ สำหรับภาษาไทยเราคงนึกรูปประโยคได้มากมาย แต่ในภาษาอังกฤษล่ะ? หากเราต้องสร้างประโยคเงื่อนไขเราจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปประโยคให้สอดคล้องตามหลักการของ Conditional sentences แล้วเจ้า Conditional sentences คือ อะไร อ่านต่อเลยจ้า


ที่มารูปภาพ: Shutterstock RigaAnindita


Conditional clauses เป็นรูปประโยคมักมีการใช้คำว่า “if” เพื่อสื่อถึง เงื่อนไขบางสิ่งบางอย่างที่เราสร้างขึ้น เช่น ฉันจะกวาดห้องเรียนให้ ถ้าเธอไปซื้อขนมมาให้ฉันก่อน 


ประโยคนี้มีคำว่า “ถ้า” หรือ “if” ที่ต้องใช้ร่วมกับประโยคสั้น ๆ หรืออนุประโยค (ประโยคที่ไม่สมบูรณ์) เราจึงเรียกรูปประโยคนี้ว่า ประโยคเงื่อนไข หรือ Conditional sentences นั่นเอง ในภาษาอังกฤษประโยคเงื่อนไขยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “if clause” สำหรับวิธี การใช้ if clause แบบง่าย ๆ คือ If clause + Main clause เช่น If you love me, I will love you. (ถ้าคุณรักฉัน ฉันก็จะรักคุณ) 


เข้าใจความหมายของเจ้า Conditional sentences คืออะไรไปพอสมควรแล้ว คราวนี้มาดูหลัก การใช้ if clause แบบง่าย ๆ กันต่อ




หลักการใช้ if clause

  ประโยคเงื่อนไขหรือ if clause เราสามารถวางประโยคที่เป็นใจความหลัก (Main Clause) ไว้ด้านหน้าหรือด้านหลัง ประโยคเงื่อนไข (if clause) ได้ ยกตัวอย่างการใช้เช่น


  • นำ If clause มาวางไว้หน้า Main clause

If you love him, I will hate you (ถ้าคุณรักเขา ฉันจะเกลียดคุณ)  


  • นำ Main clause มาไว้หน้า If clause 

I will hate you if you love him. (ฉันจะเกลียดคุณ ถ้าคุณรักเขา)


เรามาดูกันว่า Conditional Sentence หรือ if clause มีเงื่อนไขอะไรอีกบ้าง?


1.หลักในการใช้ The Zero Conditional Sentences หรือ if clause type 0

สำหรับ Zero Conditional แม้จะมีคำว่า Zero ก็จริงแต่คำนี้ไม่ได้หมายความว่ารูปประโยคจะไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เกิดขึ้น เนื่องจากทุกครั้งที่เราพูดประโยคเงื่อนไขออกมา รูปประโยคต้องประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเสมอเพื่อให้รูปประโยคของเราสมบูรณ์และน่าเชื่อถือ เป็นประโยคที่ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานเท่าไร ความหมายก็ยังเหมือนเดิม เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คำสอนในศาสนาต่าง ๆ เป็นต้น


โครงสร้างประโยคประกอบไปด้วย

 

If Clause ต้องอยู่ในรูปของ present simple

Main Clause ต้องอยู่ในรูปของ present simple


หรือสามารถเขียนให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ดังนี้ If + S + V1, S +V1


ตัวอย่างรูปประโยค if clause type 0

  •  If managers want to improve our performance, they need to start an incentive program. (ถ้าผู้จัดการต้องการปรับปรุงรูปแบบการทำงานของเรา พวกเขาจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างแรงจูงใจ)
  •  If the air quality drops dramatically, it affects those who have air allergies. (ถ้าหากสภาพอากาศแย่ลงมาก ๆ จะส่งผลต่อคนที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศได้)


2.หลักในการใช้ The First Conditional Sentencesหรือ if clause type 1

เป็นรูปแบบที่เราสามารถนำไปใช้กับเหตุการณ์ที่คิดว่าน่าจะเป็นจริงหรือเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเกิดขึ้นในอนาคตได้ เช่น เมื่ออากาศหนาวมากขึ้นน้ำในห้องน้ำก็จะเย็นไปด้วย หรือ หากแดดแรงมาก ๆ เมื่อเดินออกไปเราต้องร้อนและมีเหงื่อแน่ ๆ เป็นต้น


โครงสร้างประโยค คือ 

  If Clause ต้องอยู่ในรูปของ present simple

  Main Clause ต้องอยู่ในรูปของ will-future or (Modal + infinitive)


  หรือสามารถเขียนให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ดังนี้ If I + V1., I will + V1./ If I + V1., I may + V1./

  หมายเหตุ : Modal หมายถึงคำกริยาช่วย อย่างเช่น can, may, shall, should, must เป็นต้น




 ตัวอย่างประโยคที่ใช้ if clause type 1

  •   If I work hard, I will get rich. (ถ้าฉันทำงานหนัก ฉันก็จะรวย)
  •   We will consume less red meat from cows if we understand how red meat really causes cancer. (เราจะกินเนื้อแดงจากวัวให้น้อยลง เมื่อเราเข้าใจว่าเนื้อแดงคือสาเหตุที่ทำให้เราเป็นมะเร็งได้)
  •   Your friend will get happy if you smile. (เพื่อนของคุณจะมีความสุข เมื่อคุณยิ้ม)
  •   If you go to the supermarket, you will get a cup of free hot coffee. (ถ้าคุณไปที่ห้างสรรพสินค้า คุณจะได้กาแฟร้อน 1 แก้วฟรี ๆ)
  •   If I see Ronaldo, I’ll tell you. (ถ้าฉันเจอโรนัลโด ฉันจะบอกคุณ)


  3.หลักในการใช้ The Second Conditional Sentences หรือ if clause type 2

  คือการสร้างรูปประโยคเพื่ออธิบายเหตุการณ์เพ้อฝันที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง หรืออาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ

 

 โครงสร้างประโยค คือ 

  If Clause มักอยู่ในรูปของ past simple

  Main Clause จะใช้คำว่า would/could/might + infinitive)


  หรือสามารถเขียนให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ดังนี้ If + past simple, would/could/might + verb infinitive


ตัวอย่าง if clause type 2

  •   If I were the Prime Minister of England, I would take a rest on Big Ben Tower. (ถ้าฉันได้เป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ฉันจะขึ้นไปพักบนหอบิ๊กเบน)
  •   I would leave early if my wife allowed. (ฉันจะกลับเร็วหน่อย ถ้าภรรยาของฉันอนุญาต) –ในความจริงเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้


  4.หลักในการใช้ The Third Conditional Sentences หรือ if clause type 3

  เป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้กับเหตุการณ์ตรงข้ามกับความเป็นจริง ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งนิยมใช้เพื่อบ่น หรือใช้เพื่อบอกเงื่อนไข เช่น ฉันเสียดายที่ไม่ได้ออกกำลังกายถ้าหากย้อนเวลากลับไปได้ฉันอยากจะออกกำลังกายเยอะ ๆ หุ่นจะได้ดี โดยส่วนใหญ่นิยมใช้เพื่อสื่อให้คนรอบข้างเข้าใจว่าเราเสียใจหรือเสียดายที่ไม่ได้ทำมากน้อยแค่ไหน

  

โครงสร้างประโยค คือ 

  If Clause มักอยู่ในรูปของ past perfect

  Main Clause มักใช้ would + have + past participle (สามารถใช้ might แทน would ได้)

  

หรือสามารถเขียนให้เข้าใจแบบง่าย ๆ ดังนี้ If + had + V3 (Past perfect), would have + V3




  ตัวอย่าง if clause type 3

  •   If I had read the book a month ago, I would have passed the exam. (ถ้าเดือนก่อนฉันตั้งใจอ่านหนังสือ ฉันก็คงสอบผ่านไปแล้ว) 
  •   If she had found a professional marketing manager earlier, her business would have been saved. (ถ้าเธอได้พบกับผู้จัดการฝ่ายการตลาดที่เก่ง ๆ เร็วกว่านี้ ธุรกิจของเธอคงไม่เป็นแบบนี้)
  •   If he had won the Star Idol contest, he would have got a Motorcycle. (ถ้าเขาชนะการประกวด Star Idol เขาก็คงจะได้มอเตอร์ไซค์) –เนื่องจากปัจจุบันเขาไม่ได้รับรถมอเตอร์ไซค์ เพราะไม่ชนะการประกวด
  •   If Somsak had driven on the other route, we would have reached our destination a minute ago. (ถ้าสมศักดิ์ขับรถไปอีกทางหนึ่ง เราคงจะถึงที่หมายได้ตั้งนานแล้ว)
  •   She would have been on time for the interview if she had left the house at seven. (เธอคงจะมาตรงเวลาสำหรับการสัมภาษณ์ ถ้าหากเธอออกจากบ้านตอน 7 โมง) – จากรูปประโยคสื่อให้น้อง ๆ ได้เห็นว่าเธอคนนี้มาไม่ทันการสัมภาษณ์งาน เพราะเธอออกจากบ้านช้ากว่าเวลา 7 โมง




  ตัวอย่างและเนื้อหาข้างต้นคงทำให้น้อง ๆ เข้าใจแล้วว่า Conditional sentences คือ อะไร โครงสร้างประโยคและวัตถุประสงค์ของแต่ละเงื่อนไข การนำ Conditional sentences หรือ if clause นั้นเป็นเช่นไรบ้าง เพื่อให้น้อง ๆ เข้าใจหลักการได้โดยง่ายและนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เสมอคือ ประโยคเงื่อนไขที่สร้างขึ้นต้องสื่อสารได้ตรงประเด็นและคู่สนทนาต้องเข้าใจได้โดยง่าย

ที่มาข้อมูล

  • https://www.ef.com/wwen/english-resources/english-grammar/type-3-conditional/
  • https://kpglearn.com/blog/conditional-sentence/
  • https://xn--12cl9ca5a0ai1ad0bea0clb11a0e.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89-if-clause/
  • https://madonna.edu/resources/writing-center/online-tutoring/Conditionals.pdf